About

images by free.in.th

This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

images by free.in.th

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

Wednesday, February 22, 2012

การเพาะเห็ดฟางในถุง

การเพาะเห็ดฟางในถุงสามารถจัดหาวัสดุอุปกรณ์อย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องจัดซื้อใหม่ส่วนมากใช้วัสดุใช้แล้วนำมาทำความสะอาด และปรับแก้ให้มีความเหมาะสมในการนำมาใช้ อุปกรณ์ที่ใช้เพาะเห็ดฟางได้แก่
1 ถุงเพาะเห็ดฟาง
2 เชื้อเห็ดฟาง
3 อาหารเสริม
4 อาหารคลุกเชื้อเห็ดฟาง
5 วัสดุเพาะ
6 เชือกมัดถุง
สำหรับการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวมีวิธีการเตรียมดังนี้
1 ถุงเพาะเห็ดฟาง
ถุงเพาะเห็ดฟางเป็นถุงปุ๋ยเคมีที่ล้างทำความสะอาดแล้ว หรือถุงบรรจุข้าวสาร อาหารสัตว์ โดยเลือกถุงที่มีขนาด 50 กิโลกรัม นิยมใช้สีฟ้าหรือสีขาว ซึ่งให้ผลดีสำหรับเพาะเห็ดฟางในถุง และสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกประมาณ 5-6 ครั้ง ไม่ควรใช้ถุงพลลาสติกชนิดถุงพลาสติกสีดำ สีเหลืองหรือสีน้ำเงิน เนื่องจากการระบายอากาศไม่ดี ทำให้เห็ดฟางเกิดดอกน้อย ซึงอาจจะไม่เกี่ยวกับสีของถุงโดยตรง แต่อาจจะเกี่ยวกับลักษณะการถ่ายเทอากาศ ความชื้น อุณหภูมิที่ผ่านเข้าออกได้ การเพาะเห็ดฟางในถุง 1 ถุง ใช้วัสดุเพาะเห็ดฟางที่เหมาะสม ควรบรรจุเพาะเห็ดฟางประมาณ 5 กิโลกรัม ต่อถุง
2 เชื้อเห็ดฟางที่ดี
เชื้อเห็ดฟางจัดเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุด ในการเพาะเห็ดฟางทุกวิธี ควรคัดเลือกเชื้อเห็ดฟางที่ดีมีคุณภาพ แลดะตรงตามที่ตลาดต้องการ เชื้อเห็ดฟางที่ผลิตในท้องถิ่นจะมีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง เชื้อเห็ดฟาง ถุง สามารถใช้เพาะเห็ดฟางได้ 4 ถุง
3 อาหารเสริม
อาหารเสริมเป็นตัวช่วยในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดฟาง เพื่อให้เชื้อเห็ดฟางมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แข็งแรงและให้ผลผลิตสูง อาหารเสริมที่นิยมใช้มีหลายชนิด ซึ่งดัดแปลงตามความเหมาะสมตามวัสดุที่มีอยู่ในห้องถิ่น เช่นผักตบชวาสด ไส้นุ่น ดินร่วนผสมปุ๋ยคอกแห้ง ต้นกล้วยสดหั่นตากแห้งและขี้ฝ้าย การเลือกใช้อาหารเสริมควรพิจารณาถึงคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1 ความสะอาดปราศจากเชื้อราหรือโรคพืช
2 ต้องอยู่ในสภาพที่แห้ง(ยกเว้นผักตบชวา)โดยเฉพาะ ไส้นุ่น ขี้ฝ้าย และปุ๋ยคอก
3 สามารถย่อยสลายได้ง่าย
4 ไม่มีสารพิษจากวัสดุที่เป็นอาหารเสริม เช่น สารแทนนิน เพราะจะทำให้เห็ดฟางไม่เจริญเติบโต
5 ไม่ควรใช้สารเคมีที่เป็นพิษตกค้าง เช่นสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึม
6 จัดหาง่ายมีอยู่ในท้องถิ่นตลอดทั้งปี
4 อาหารคลุกเชื้อเห็ดฟาง
อาหารคลุกเชื้อเห็ดฟางเป็นอาหารที่ไปช่วยกระตุ้นเชื้อเห็ดฟางในระยะแรกๆ ทำให้เส้นใยเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อาหารวัสดุคลุกเชื้อเห็ดฟางเป็นวัสดุประเภทคาร์โบไฮเดรต แต่ถ้าใช้มากเกินไปก็อาจจะทำให้ราเขียว หรือราชนิดอื่นเติบโตก่อนเชื้อเห็ดฟางก็ได้ ทำให้เห็ดฟางที่เพาะในถุงนั้นเสียหาย หรือไม่มีผลผลิตเลย อย่างไรก็ตามขอแนะนำการเลือกใช้อาหารคลุกเชื้อ ควรพิจารณาคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1 ต้องเป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้งจากเมล็ดธัญพืช แป้งสาลี แป้งข้าวเหนียว และรำละเอียด
2 เป็นอาหารที่ใหม่สะอาดไม่มีกลิ่นอับ ไม่มีจุลินทรีย์อื่นๆ ปนเปื้อน
3 ราคาถูกคุ้มค่าต่อการลงทุนและนำไปใช้
4 เก็บรักษาไว้ได้นานไม่เสียหายง่าย
5 มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตเส้นใยเห็ดฟางเป็นอย่างดี

การใช้อาหารคลุกเชื้อเห็ดฟาง มีจุดประสงค์เพื่อ
1 เป็นวิธีการกระตุ้นเชื้อเห็ดฟางให้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หนาแน่น และแข็งแรง ครอบคุลุมวัสดุเพาะเห็ดอย่างรวดเร็ว อันจะมีผลทำให้จุลินทรีย์อื่นๆ ไม่สามารถเข้ามาเจริญเติบโตในวัสดุเพาะเห็ดฟางได้ทัน
2 เป็นอาหารเสริมและกระตุ้นให้กับเส้นใยเห็ดฟางในระยะแรกๆ ทำให้เส้นใยเห็ดฟางไม่ชะงักการเจริญเติบโต และสามารถปรับเข้าวัสดุเพาะได้ดียิ่งขึ้น
ในการใช้อาหารคลุกเชื้อมีข้อควรระวังคือไม่ควรใส่มากเกินไป เพราะจะทำให้เส้นใยเจริญเติบโตก่อนที่เส้นใยเห็ดจะเจริญ
5 วัสดุเพาะ
วัสดุเพาะ หมายถึง วัสดุที่ใช้เป็นอาหารเพาะเห็ดฟาง ควรเป็นวัสดุที่ย่อยได้ง่าย วัสดุเพาะเห็ดฟางดังกล่าว ต้องมีความสะอาดไม่มีเชื้อรา และอยู่ในสภาพที่เหมาะสมในการที่จะนำไปเพาะเห็ดฟางดังกล่าวต่อไป
6 เชือกมัดถุง
เชือกมัดถุงเป็นเชือกฟางหรือเชือกอื่นๆก็ได้ ต้องมีความเหนียวรับน้ำหนักได้ประมาณ 5-6 กิโลกรัม ความยาว 1 เมตร
การใช้พลายแก้วกำจัดโรคเห็ด
ไรขาวใหญ่
การกำจัดไรเห็ด
ปัญหาการเพาะเห็ดฟาง
ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส
การเพาะเห็ดในโอ่ง
จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย
ราสีส้ม

ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางในถุง
1 ขั้นตอนการเตรียมวัสดุเพาะเห็ดฟาง
ขั้นตอนนี้มี 3 ขั้นตอนย่อยคือ 1การเตรียมวัสดุหลัก 2 การตรียมผักตบชวาสด และ 3 การเตรียมเชื้อเห็ดฟาง
1.1 การเตรียมวัสดุหลัก เป็นการเตรียมวัสดุเพาะเห็ดฟางในถุง ต้องจัดเตรียมวัสดุเพาะเห็ดฟางในถุง ดังนั้นจึงต้องเตรียมการล่วงหน้า ตามขั้นตอนโดยจัดเตรียมวัสดุแต่ละชนิดให้เหมาะสม
1.2 การเตรียมผักตบชวาสด เป็นการเตรียมผักตบชวาสด เพื่อนำมาเป็นอาหารเสริมสำหรับเพาะเห็ดฟางในถุง วิธีการจัดเตรียมผักตบชวาดังนี้
- เลือกผักตบชวาที่ไม่มีโรค
- ตัดแต่งใบ หรอก้านใบส่วนแก่เกินไป หรือโรคทิ้งออกไปให้หมด
- ล้างทำความสะอาดผักตบชวา
- หั่นผักตบชวาและนำไปใช้ทันที่ โดยใช้อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อวัสดุเพาะเห็ดฟาง 1 ถุง
1.3 เตรียมเชื้อเห็ดฟาง
เป็นการเตรียมเชื้อเห็ดฟางให้พร้อมที่จะเพาะได้ทันที ควรเตรียมการก่อนเพาะเห็ดฟางเพียงเล็กน้อยหรือเตรียมการไปและเพาะไป เป็นขั้นตอนไปตลอดการเพาะ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับเชื้อเห็ดฟางที่จะเพาะได้ เช่นเชื้อเห็ดฟางแห้งกลัง หรือมีเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นปะปน ซึ่งจะทำให้การเพาะไม่ค่อยได้ผล

2 ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางในถุง
การเพาะเห็ดฟางในถุงมีขั้นตอนการดำเนินการ การต่อเนื่องจากขั้นตอนการเตรียมวัสดุเพาะเห็ดฟาง มี 2 วิธีคือ
วิธีที่ 1 ใช้วัสดุเพาะผสมกันบรรจุลงในถุง โดยมีส่วนผสม คือ วัสดุเพาะ อาหารเสริม หรือผักตบชวาหั่น และเชื้อเห็ดฟาง จากนั้นนำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากันดังนี้
- นำวัสดุเพาะเห็ดฟางที่เตรียมไว้เกลี่ยแผ่กองออกให้หนาประมาณ 2-3นิ้ว
- นำเชื้อเห็ดฟางที่เตรียมไว้แล้ว ผสมคลุกเคล้ากับวัสดุเพาะเห็ดฟางให้ทั่ว
- นำวัสดุเพาะเห็ดฟางที่ผสมด้วยเชื้อเห็ดฟางแล้ว บรรจุลงในถุงประมาณ 5 กิโลกรัม ยกกระแทกกับพื้นหรือใช้มือกดเพื่อให้วัสดุเพาะแน่นพอสมควรกดจากภายนอกให้วัสดุเพาะเห็ดฟางมีความหนาประมาณ 20 เชนติเมตร
- จับและรวบปากถุงเป็นจีบเข้าหากัน แล้วมัดปากถุงด้วยเชือกให้แน่น โดยมัดในจุดที่สูงที่สุดเพื่อให้มีลักษณะเป็นกระโจม
- นำถุงบรรจุเพาะเห็ดฟางไปตั้งไว้ หรือแขวน ไว้ในที่ ที่มีความชื้น เช่นใต้ร่มเงาต่างๆหรือใต้ร่มไม้ก็ได้ ประมาณ 8-10 วัน ดอกเห็ดฟางจะขึ้น บนผิวเพาะเห็ดฟางภายในถุง และเมื่อดอกเห็ดฟางมีความเหมาะสมก็สามารถเก็บเกี่ยวได้

วิธีที่ 2 การเพาะเห็ดฟางแบบจัดเรียงวัสดุเพาะ ที่เตรียมไว้เป็นชั้นในถุงเพาะ โดยการเรียงวัสดุเพาะเป็น 3 ชั้น คือใส่วัสดุเพาะไว้ด้านล่างในถุงแล้วกดให้หนาประมาณ 20 เซนติเมตร จากนั้นใส่อาหารเสริมหรือผักตบชวาสดหั่นวางเป็นชั้นเหนือวัสดุเพาะ และสุดท้ายใส่เชื้อเห็ดฟางที่เตรียมไว้ เสร็จแล้ว ใส่เป็นชั้นบนผักตบชวาสดหั่นแล้วมัดปากถุงและนำไปเพาะในสถานที่เพาะ

การปฏิบัติดูแลการเพาะเห็ดฟางในถุง
1. อุณหภูมิ มีความสัมพันธ์กับความชื้นในโรงเรือนในฤดูฝน และฤดูร้อนช่วงวันแรกถึงวันที่ 4 ของการเพาะเห็ดฟางในถุง ส่วนฤดูหนาวช่วงวันแรกถึงวันที่ 6 ของการเพาะเห็ดฟางในถุง เป็นช่วงเวลาที่เชื้อเจริญเติบโต และต้องการอุณหภูมิประมาณ 37-40 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิอยู่ที่ 30-35 องศาเซลเซียส เวลาลากลางวัน ในช่วงเวลา 13.00-15.00 นาฬิกา ส่วนช่วงเลยวันดังกล่าวคือ ในฤดูร้อนหรือฤดูฝน ช่วงวันที่ 5-8 ของการเพาะเห็ดฟาง ส่วนช่วงฤดูหนาวช่วงวันที่ 7-12 เห็ดฟางต้องการอุณหภูมิภายในวันสดุเพาะ28-32 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิภายในโรงเรือนอยู่ที่ 25-27 องศาเซลเซียส ในช่วงนี้เชื้อเห็ดฟางจะเจริญและพัฒนาเป็นดอกเห็ดได้ดี ดังนั้นผู้เพาะเห็ดฟางควรควบคุมอุณหภูมิในช่วงดังกล่าวให้ดี เพราะอาจจะทำให้เกิดปัญหาต่อการเพาะเห็ดฟางได้
การแก้ปัญหาอุณหภูมิสูงเกินไป
1. เปิดประตูหรือเปิดช่องด้านข้างของโรงเรือน เพื่อระบายอากาศออกจากโรงเรือนควรเปิดให้อากาศระบายออกอย่างช้าๆ เพื่อไม่ให้เชื้อเห็ดฟางชะงักการเจริญเติบโต
2. รดน้ำบนพื้นโรงเรือนเพื่อให้เกิดความชื้นมากขึ้น ก็ช่วยลดอุฯหภูมิลงได้
3. ใช้พัดลมเป่าภายในโรงเรือน เมื่ออุณหภูมิลดลงในระดับที่เหมาะสมแล้วค่อยปิดพัดลม
4. ใช้สปริงเกอร์ฉีดพ่นเป็นละอองฝอยฉีดพ่นภายในโรงเรือน
5. ใช้ตาข่ายสีดำบังแสงแดดทางด้านทิศตะวันตก
การแก้ปัญหาอุณหภูมิต่ำเกินไป
1. ให้วางถุงเห็ดฟางติดกับพื้นดิน อุณหภูมิของดินจะช่วยให้อุณหภูมิในถุงเพิ่มขึ้นได้
2. การขุดดินต่ำลงกว่าระดับปกติวางถุงเพาะเห็ดฟางลงในหลุมนั้น อุณหภูมิของดินจะทำให้อุณหภูมิภายในถุงเพาะเห็ดฟางสูงขึ้นได้
3. ติดหลอดไฟภายในโรงเรือน
4. ใช้เครื่องทำความร้อน

2.ความชื้น
ความชื้นของวัสดุเพาะเห็ดฟางควรอยู่ที่ระดับ 60-65 เปอร์เซ็นต์ ความชื้นภายในโรงเรือนควรมีระดับ 80 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ผู้เพาะเห็ดฟางควรติดตั้งไฮโดรมิเตอร์ เพื่อวัดระดับความชื้นภายในโรงเรือน ความชื้นในวัสดุเพาะเห็ดฟางที่สูงเกินไป แก้ไขปัญหาโดยการเปิดถุงออกให้ความชื้นระเหยออก ประมาณ 1-3 ชั่วโมง แล้วปิดปากถุงไว้เช่นเดิม แต่ถ้าวัสดุเพาะเห็ดฟางแห้งเกินไปควรใช้กระบอกฉีดน้ำพ่นเป็นละอองฝอย แต่ห้ามใช้บัวรดน้ำเพราะจะทำให้เส้นใยเห็ดฟางขาด เส้นใยไม่เจริญเติบโตเน่าเสียได้ง่าย หรือแก้ไขโดยรดน้ำด้วยบัวไปที่ผิวภายนอกที่ถุงเพาะนั้น รดแบบผ่านไปเร็วๆ 2-3 ครั้ง ให้ทั่ว

การระบายอากาศภายในถุงเพาะเห็ดฟาง
เป็นการช่วยเห็ดฟางได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ จะทำในช่วงวันที่ 4 ของการเพาะเห็ดฟางในถุง ของฤดูร้อนหรือฤดูฝน ส่วนฤดูหนาวเป็นช่วงวันที่ 5-6 หรือสังเกตความหนาแน่ของเส้นใยเห็ดฟาง มีความหนาแน่นน้อย หรือเจริญแบบบางเกินไป ควรยืดเวลาออกไป 1-2 วัน การระบายอากาศทำได้โดยระบายอากาศในช่วงเย็น ½-1 ชั่วโมงในช่วงเย็น

การให้น้ำเพื่อตัดเส้นใยของเชื้อเห็ดฟาง
ใช้บัวรดน้ำแบบฝอยละเอียดรดไปยังวัสดุเพาะเห็ดฟาง แบบผ่านไปมาค่อนข้างเร็ว 2-3 ครั้ง หรือใช้กระปุกฉีดน้ำเป็นละอองฝอย ฉีดพ่นไปยังวัสดุเพาะเห็ดฟาง ประมาณ 3-5 ครั้ง ทำให้เชื้อเห็ดฟางขาดทำให้เชื้อเห็ดฟางพัฒนาเป็นดอกเห็ดได้มากขึ้น ควรทำต่อเนื่องจากการระบายอากาศไปเลย

การเก็บเกี่ยวดอกเห็ดฟาง
ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวดอกเห็ด การเพาะเห็ดฟางในถุงมักให้ผลผลิตช้ากว่าการเพาะเห็ดฟางแบบเดิม 1-2 วัน คือ ในฤดูร้อนและฤดูฝน ดอกเห็ดฟางจะเจริญเติบโตมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้ประมาณวันที่ 9-10 แต่ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น การเพาะเห็ดฟางในถุงจะมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น 1-2 วัน คือเก็บเกี่ยวได้ในช่วงวันที่ 7-8 ของการเพาะเห็ดฟางในถุง ถ้าอุณหภูมิต่ำลงจะมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้ ช้าลง 1-2 วัน คือเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในวันที่ 11-12 ของการเพาะเห็ดฟางในถุง
การเพาะเห็ดฟางในถุงยังมีรายละเอียดอีกมากมาย ขอให้ผู้สนใจศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนลงมือปฏิบัตินะครับ
การใช้พลายแก้วกำจัดโรคเห็ด
ไรขาวใหญ่
การกำจัดไรเห็ด
ปัญหาการเพาะเห็ดฟาง
ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส
การเพาะเห็ดในโอ่ง
จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย
ราสีส้ม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณสุพจน์ 082-711-9399 E- mail: Sup.hot@hotmail.com
ชื่อบัญชี สุพจน์ แวงภูลา
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชาบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 208-1-95042-1
ที่มา:อาจารย์สำเนาว์ ฤทธิ์นุช

การใช้แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด

แร่ธาตุเสริม, กระตุ้น สำหรับเห็ดทุกชนิด
ขนาดบรรจุ : 700 กรัม
คุณสมบัติ
1. เป็นแร่ธาตุเสริมผสมเสร็จ สำหรับฉีดพ่นให้กับก้อนเห็ด
2. เหมาะสำหรับก้อนเห็ด ที่ผู้ทำก้อนใส่อาหารไม่สมดุล
3. เหมาะสำหรับก้อนเห็ด ที่เกิดดอกจนแร่ธาตุในก้อนไม่พอ ที่จะให้เกิดดอกได้อีก แต่อาหารในก้อนยังเหลืออยู่
4. ใช้กระตุ้นการเกิดดอกเห็ดได้ ในกรณีอาหารไม่สมดุล

เทคนิคการใช้
1. ใช้อัตรา 5 ช้อนแกง (50 กรัม) ต่อน้ำ 5-10 ลิตร กวนให้ขุ่น กรอง นำไปฉีดพ่นเป็นฝอยหน้าก้อนเห็ด ฉีดพ่นแบบผ่านๆ
2. หากใช้ร่วมกับ บาซิลลัส พลายแก้ว ในช่วงกระตุ้นแบบสลับกับ เทคนิคการพักก้อน จะช่วยให้เห็ดออกเป็นรุ่นใหญ่และดอกสมบูรณ์
3. ใช้ได้จนกว่าเห็ดออกดอกไม่คุ้ม แล้วจึงนำก้อนเชื้อใหม่เข้าโรงเรือง
การใช้พลายแก้วกำจัดโรคเห็ด
ไรขาวใหญ่
การกำจัดไรเห็ด
ปัญหาการเพาะเห็ดฟาง
ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส
การเพาะเห็ดในโอ่ง
จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย
ราสีส้ม
แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด
การหมักเชื้อจุลินทรีย์พลายแก้ว และไมโตฟากัส เพื่อใช้ในสูตรอาหารเพื่อผลิตก้อนเชื้อเห็ด
สูตรการหมักโดยทั่วไปคือ ใช้น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ลูก หรือนมสด 1 กล่อง หรือนมผงที่ชงในน้ำอุ่นสำหรับเลี้ยงทารก 1 แก้ว เทใส่ถุงพลาสติกใหม่สะอาด ใส่เชื้อที่จะหมักลงไป 1 ช้อนชา ผูกข้างหนึ่งอีกข้างหนึ่งเปิดให้อากาศเข้าได้ นำไปแขวนหรือตั้งทิ้งไว้ เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ครบเวลานำไปผสมในสูตรอาหาร
หมายเหตุ:การหมักเชื้อจุลินทรีย์แต่ละชนิด ต้องหมักแยกภาชนะ ไม่หมักรวมกันเพราะเชื้อจะแย่งอาหารกันเอง แต่เมื่อหมักครบเวลาสามารถนำมาใช้รวมกันได้ เชื้อที่หมักครบเวลาเป็นเชื้อสดต้องใช้ทันที ไม่ึควรเก็บเอาไว้เพราะเชื้อจะแก่เกินไป และสามารถใช้ร่วมกับแร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ดไ้ด้ทันที
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณสุพจน์ 086-8611943 082-711-9399 E- mail: Sup.hot@hotmail.com
ชื่อบัญชี สุพจน์ แวงภูลา
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชา บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 208-1-95042-1

จุลินทรีย์พลายแก้ว ป้องกันกำจัดราโรคเห็ด

พลายแก้ว คือผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์ ในกลุ่มแบคทีเรียบาซิลลัส ซับติลิส ที่ได้รับการคัดเลือกว่ามีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราที่สำคัญในประเทศไทย เช่น โรคกรากเน่า โคนเน่า โรคผลเน่าของทุเรียน พริกไทย พืชตระกูลส้ม มะนาว มะละกอ สับปะรด และยางพาราที่เกิดจากเชื้อราฟัยท๊อพธอรา โรคเกล้าเน่ายุบตาย ในพืชตระกูลแตง มะเขือเทศ ถั่ว พริก ผักชนิดต่างๆ และไม้ดอกไม้ประดับที่เกิดจากเชื้อเรา พิธเทียม ไรซอคโทเนียและ สเคอร์โรเทียม ฯลฯ และที่โดดเด่นเป็นพิเศษคือ สามารถกำจัดเชื้อราเห็ดเกือบทุกชนิด

สูตรและเทคนิคการใช้ จุลินทรีย์พลายแก้ว ป้องกันกำจัดราโรคเห็ด
จุลินทรีย์ พลายแก้ว” ถูกค้นพบโดย นายพลายแก้ว เพชรบ่อแก นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และท่านอาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ ได้นำมาพัฒนาและเผยแพร่ใช้ในการป้องกันกำจัดเชื้อราโรคพืชและเชื้อราโรคเห็ด ส่งผลให้การเพาะเห็ดง่ายขึ้นได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น จากเมื่อก่อนหากก้อนเห็ดหรือกองเห็ดมีราเขียว ราดำ ราเหลืองเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้เห็ดไม่เกิดดอก ก้อนเห็ดต้องแยกไปทำลาย เสียหายเป็นจำนวนมาก โรคและศัตรูการเพาะเห็ดถุง

อีกเทคนิคหนึ่งที่ท่านอาจารย์ดีพร้อมได้วิจัยและเผยแพร่คือใช้เชื้อพลายแก้ว ร่วมในการผลิตก้อนเชื้ออาหารเห็ดคุณภาพสูง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเรื่องการปนเปื้อนของเชื้อราตั้งแต่แรกเริ่มของกระบวนทำก้อนอาหารเห็ด ให้ก้อนเชื้อมีความสะอาดปราศจากเชื้อราโรคเห็ด คุณภาพของเส้นใยสมบูรณ์แข็งแรงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและกลุ่มผู้ซื้อ ที่นำไปเปิดดอกจำหน่ายอีกต่อหนึ่ง ตัวอย่างสูตรอาหารการหมักขยายเชื้อ จะเลือกใช้สูตรใดก็ได้ขึ้นอยู่กับอาหารเชื้อที่หาได้ในท้องถิ่น ซึ่งสูตรแต่ละสูตรให้ปริมาณเชื้อต่อหน่วยอาหารไม่แตกต่างกันมากนัก

1.การขยายเชื้อพลายแก้วด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน ใช้มะพร้าวอ่อน 1 ผล เจาะเปิดฝาแง้มพอใส่เชื้อลงไปได้ ใส่เชื้อพลายแก้ว 1-2 ช้อนชา ปิดฝาทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง (ดีที่สุด 36 ชม.) หมักครบเวลา นำมาผสมน้ำได้10-20 ลิตรแล้วจึงนำไปใช้ โดยฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณที่เป็นโรค หรือนำไปผสมในอาหารเห็ดตามสัดส่วนความชื้น

2.การขยายพลายแก้วโดย ใช้นมกล่องพาสเจอร์ไลท์ตามท้องตลาดทั่วไป 1 กล่อง (250 ซีซี.) เปิดฝาออกให้เทนมใส่ถุงพลาสติกสะอาด เติมเชื้อพลายแก้วตามลงไป 1-2 ช้อนชา นำไปผูกข้างหนึ่งอีกข้างเปิดปากถุงให้อากาศเข้าได้ แล้วนำไปแขวน หมักทิ้งไว้24-48 ชั่วโมง ครบเวลานำมาผสมน้ำ 10-20 ลิตรแล้วนำไปใช้ เทคนิคการใช้หากเชื้อราอยู่ก้นถุงอาจใช้ไซลิ้งเข็มฉีดยาดูดน้ำหมัก 5 ซีซี แล้วฉีดเข้าไปที่บริเวณเกิดโรค หากเป็นมากกรอกน้ำหมักเข้าไปให้ท่วมก้อน ทิ้งไว้1-2นาทีแล้วเทน้ำหมักออกให้สะเด็ด อย่าแช่นานเกินไปเพราะเส้นใยเห็ดจะขาดอากาศได้

3.บางฟาร์มใช้เชื้อหมักในปริมาณมาก อาจหมักรวมกันโดยเทน้ำมะพร้าวอ่อน หรือ นม ลงไปรวมกันแล้วใส่เชื้อตามอัตราส่วนของอาหาร โดยหมักในถังขนาดใหญ่ขึ้นหรือกะละมังที่สะอาด และต้องให้อากาศแบบตู้ปลานั่นคือมีสายออกซิเจนและหัวทรายกระจายอากาศให้ทั่ว เพราะเชื้อในตระกูลนี้เป็นเชื้อที่เจริญได้ดี ได้มาก ต้องใช้อากาศ หมักเป็นเวลา24-48 ชม. ครบเวลาค่อยผสมน้ำเปล่าแล้วนำไปใช้ การใช้ก็นำไปฉีดพ่นบริเวณที่เกิดโรคหรือนำไปรดหรือสเปรย์ผสมในอาหารก้อนขี้เลื่อยในเห็ดถุงโดยต้องคลุกเคล้าให้ทั่วให้เชื้อกระจายทั่วถึงในอาหาร และกะความชื้นให้พอเหมาะ หรือผสมรดสเปรย์ในฟางหมัก ,ทะลายปาล์มหมักสำหรับเพาะเห็ดฟาง

การหมักเชื้อจุลินทรีย์พลายแก้ว และไมโตฟากัส เพื่อใช้ในสูตรอาหารเพื่อผลิตก้อนเชื้อเห็ด
สูตรการหมักโดยทั่วไปคือ ใช้น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ลูก หรือนมสด 1 กล่อง หรือนมผงที่ชงในน้ำอุ่นสำหรับเลี้ยงทารก 1 แก้ว เทใส่ถุงพลาสติกใหม่สะอาด ใส่เชื้อที่จะหมักลงไป 1 ช้อนชา ผูกข้างหนึ่งอีกข้างหนึ่งเปิดให้อากาศเข้าได้ นำไปแขวนหรือตั้งทิ้งไว้ เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ครบเวลานำไปผสมในสูตรอาหาร
หมายเหตุ:การหมักเชื้อจุลินทรีย์แต่ละชนิด ต้องหมักแยกภาชนะ ไม่หมักรวมกันเพราะเชื้อจะแย่งอาหารกันเอง แต่เมื่อหมักครบเวลาสามารถนำมาใช้รวมกันได้ เชื้อที่หมักครบเวลาเป็นเชื้อสดต้องใช้ทันที ไม่ึควรเก็บเอาไว้เพราะเชื้อจะแก่เกินไป
การใช้พลายแก้วกำจัดโรคเห็ด
ไรขาวใหญ่
การกำจัดไรเห็ด
ปัญหาการเพาะเห็ดฟาง
ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส
การเพาะเห็ดในโอ่ง
จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย
ราสีส้ม
แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณสุพจน์ 082-711-9399 E- mail: Sup.hot@hotmail.com
ชื่อบัญชี สุพจน์ แวงภูลา
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชาบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 208-1-95042-1

ขอบคุณที่มาข้อมูล:คุณ อำพล สุขเกต

Monday, February 13, 2012

ไรเห็ด

ปัจจุบันมีการเพาะเห็ดกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากทำได้ง่ายทั้งแบบบริโภคในครัวเรือนและเพื่อการค้า แต่ส่วนใหญ่ก็ยังประสบปัญหาในการดูแลรักษา บางเจ้าถึงกับไม่ขอทำอีกเลย และอาจจะมีการพึ่งพาสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูเห็ด ซึ่งสงผลเสียโดยตรงกับผู้ใช้และผู้บริโภคครับ วันนี้ผมก็เลยมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ไร ไรศัตรูเห็ด มาฝาก

ลักษณะโดยทั่วไป
ไรเห็ด เป็นศัตรูเห็ดเห็ดมีขนาดเล็กมาก ตามสภาพธรรมชาติ มักจะเห็นเป็นจุดเล็ก ๆ สีขาวใส่อยู่กระจายเต็มไปหมดที่น่าสนใจคือการที่ไรชนิดต่างๆ ที่ทำลายเห็ดนั้นจะมีวงจรชีวิต (ไข่-ตัวแก่) สั้นมาก โดยใช้เวลาเพียง 4-5 วันเท่านั้น โดยทั่วไปจะพบตัวเมียมากกว่าตัวผู้ถึง 4 เท่า โดยที่ตัวเมียยังสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการออกไข่และเป็นตัว ไม่จำเป็นต้องผสมพันธุ์กับตัวผู้อีกด้วย จึงทำให้ไรสามารถเกิดระบาดทำลายอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่เส้นใยเห็ดกำลังแผ่ออกไป หากมีพวกไรดังกล่าวระบาดก็จะทำให้เส้นใยขาดออกจากกัน และไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ เนื่องจากไรพวกนี้ชอบทำลายกัดกินส่วนของเส้นใย ไรศัตรูเห็ดที่พบทำลายเห็ดปลูกในไทยนั้น คือ ไรไข่ปลา ( Luciaphorus sp. )
ไรไข่ปลา มีการดำรงชีวิตที่แตกต่างไปจากไรแดงที่ทำลายพืช ไรตัวแก่เพศเมียจะว่างไข่อยู่ภายใต้ลำตัว แทนที่จะว่างไข่ออกมาภายนอกลำตัว เหมือนไรแดงที่ทำลายพืช นอกจากนั้นแล้ว เมื่อไข่เจริญเติบโตเป็นตัวแก่แล้ว แทนที่จะออกมาจากตัวแม่กลับเจริญเติบโตอยู่ภายใต้ท้องแม่ จนกว่าจะเป็นตัวแก่ จึงจะเจาะผนังท้องของแม่ออกมาภายนอก การผสมพันธุ์ระหว่างตัวแก่ตัวผู้และตัวเมียนั้น ส่วนใหญ่ผสมพันธุ์กันอยู่ภายในท้องแม่ ก่อนออกจากท้องแม่ สำหรับไข่บางฟองที่อาจอยู่ภายใต้ท้องแม่ แต่ยังไม่เจริญเป็นตัวอ่อน เมื่อท้องแม่แตกแล้ว ก็สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนภายหลัง จากนั้นจึงเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ต่อไป ระยะเวลาที่ใช้ในการเจริญเติบโต ตั้งแต่วางไข่จนกระทั้งเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ประมาณ 5-7 วัน
ตัวแม่สามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งที่ได้รับการผสมพันธุ์และไม่ได้รับการผสมพันธุ์ตัวแม่ที่ได้รับ การผสมพันธุ์จากตัวผู้จะวางไข่ซึ่งเจริญเติบโตต่อไปเป็นตัวเมียเป็นส่วนใหญ่และมีส่วนน้อยที่เจริญเติบโตเป็นตัวผู้ ซึ่งตรงกันข้ามกับตัวเมียที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์จะวางไข่ซึ่งเจริญเติบโตต่อไปเป็นตัวผู้ทั้งหมด ปริมาณการวางไข่ของตัวแม่ที่ได้รับการผสมพันธุ์ จะมากกว่าตัวแม่ที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์เล็กน้อย คือ ตัวแม่ที่ได้รับการผสมพันธุ์สามารถวางไข่ประมาณ 200 ฟอง ต่อตัวแม่ 1 ตัว ตัวแก่ตัวเมียที่ออกจากท้องแม่แล้ว จะมีระยะเวลาก่อนการตั้งท้อง คือก่อนที่ส่วนท้องจะขยายโต เป็นเม็ดกลมเหมือนไข่ปลา ประมาณ 1-3 วัน สำหรับตัวแม่ที่ได้รับการผสมพันธุ์และประมาณ 3-6 วัน สำหรับตัวแม่ที่ได้รับการผสมพันธุ์ หลังจากนั้น ส่วนท้องจะค่อย ๆ ขยายใหญ่ มีขนาดโตมองเห็นชัดด้วยตาเปล่า เป็นเม็ดกลมเล็ก ๆ สีเหลืองใส ระยะเวลาตั้งแต่ตัวเมียเริ่มขยายส่วนท้องใหญ่ขึ้น จนกระทั้งท้องแตกใช้เวลาประมาณ 9 วัน อายุของตัวแม่ที่ได้รับการผสมพันธุ์ จะมีชีวิตอยู่ประมาณ 7-11 วัน ซึ่งสั้นกว่าตัวเมียที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์ คือประมาณ 10-16 วัน

การทำลายและการสังเกตุ

ไรจะทำลายเส้นใยเห็ดที่เจริญอยู่ในถุงพลาสติกก่อนไปเปิดให้เห็ดออกดอก หรือทำลายโดยตรงที่ดอกเห็ด ทำให้ดอกแคระแกร็น ในถุงที่ถูกไรชนิดนี้ทำลาย จะพบเม็ดกลมเล็ก ๆ เหมือไข่ปลากระจายทั่วไปในถุงเห็ด อาการเม็ดไข่ปลาที่เห็นนั้น เป็นส่วนท้องของไรตัวเมีย ที่ขยายมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1 - 2 มม. โดยมีไข่ และตัวอ่อนเจริญอยู่ภายในท้อง หากพบการระบาดอย่างรุนแรงแล้ว ก็จะเห็นซากของตัวเต็มวัยที่ตายแล้วด้วยตาเปล่า หรือเห็นคราบทับถมอยู่บริเวณปากถุงเห็ด และชั้นที่ว่างถุงเห็ดอย่างหนาแน่น เห็นเป็นผงฝุ่นสีน้ำตาลอ่อนคล้าย ๆ ขี้เลื่อยละเอียด

การแพร่กระจายหรือการระบาดของไรไข่ปลา

การระบาดของไรไข่ปลา จากถุงเห็ดหนึ่งไปอีกถุงหนึ่งนั้น เป็นไปได้โดยที่ไรไข่ปลาติดไปกับถุงเห็ด และตัวไรสามารถเข้าไปในถุงเห็ดทีวางใกล้เคียง โดยตัวไรเดินผ่านเข้าทางจุกสำลี เมื่อเข้าไปในถุงเห็ดก็จะกัดกินเส้นใยสีขาวของเห็ดหูหนู ซึ่งเจริญอยู่ภายใน โดยเริ่มจากบริเวณตรงคอขวดลงมาเรื่อย ถ้าถุงเห็ดถูกไรทำลายมาก เมื่อนำถุงไปเปิดปากถุงให้เห็ดออกดอก ก็จะมีดอกน้อยหรือไม่มีดอกเห็ดและดอกเห็ดที่ออกมาก็จะถูกไรชนิดนี้ทำลายที่ดอกอีก ทำให้ดอกแคระแกร็นมีขนาดเล็กกว่าปกติ ถ้านำดอกเห็ดที่ถูกไรชนิดนี้ทำลายไปจำหน่าย ก็อาจจะเป็นที่รังเกียจแก่คนซื้อด้วย เพราะเห็นเม็ดไข่ปลากระจายอยู่ตามดอกเห็ด ดั้งนั้นจึงจำเป็นต้องหาวิธีการป้องกันกำจัดไม่ให้ไรไข่ปลาเข้าทำลายเสียหายแก่เห็ด


การแก้ปัญหานี้สามารถทำได้ คือ
1.ใช้ว่านหนอนตายยาก บอระเพ็ด กากน้ำตาล อัตราส่วน 1:1:1 สับละเอียดผสมให้เข้ากัน หมักไว้ 7 วัน นำมาฉีดพ่นที่ก้อนเห็ดในอัตราส่วน 1 ช้อนแกง/น้ำ 1 ลิตร ทำวันเว้นวัน
2.แก้ปัญหาโดยการพักโรงเรือน เปิดระบายอากาศน้ำความสะอาดเพื่อฆ่าเชื้อในโรงเรือน การพักโรงเรือนควรทำอย่างน้อย 15 วัน
3.ทำความสะอาดเครื่องมือ ภายในโรงผลิตก้อนเห็ด

การเพาะเห็ดนางฟ้าในโอ่ง



การเพาะเห็ดในโอ่ง
เห็ด เป็นอาหารโปรตีนสูง ย่อยง่าย ที่คนส่วนใหญ่นิยมบริโภค เมื่อเพาะให้ผลผลิตเร็ว คือภายใน 2 สัปดาห์มีวิธีการเพาะหลายวิธี เช่น เพาะแบบกองเตี้ย เพาะแบบกองสูงเพาะในโรงเรือน และการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าที่ กลุ่มเกษตรกรบ้านทรัพย์สมบูรณ์เทศบาลตำบลกุดน้ำใส อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ทดลองเพาะเห็ดในโอ่ง
เป็นภูมิปัญญาอย่างง่ายๆ ในครัวเรือนทั่วๆ ไป สามารถนำมาเป็นตัวอย่างใช้ได้จะทำให้มีเห็ดสดๆ ปลอดสารพิษไว้รับประทานในครัวเรือนแทบทุกวัน ลดความยุ่งยากในการเพาะเห็ดในโรงเรือน โอ่งที่ใช้ก็เป็นโอ่งที่แตกหรือร้าวที่ใส่น้ำไม่ได้แล้ว
วิธีการเพาะเห็ดในโอ่ง
วัสดุที่ใช้ในการเพาะเห็ด
1. โอ่งมังกร จำนวน 1 ใบ
2. ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า จำนวน 20 ก้อน ต่อโอ่ง
3. ซาแรน หรือกระสอบป่าน สำหรับปิดปากโอ่ง นวน 1 ผืน
4. ไม้รองพื้น สำหรับวางก้อนเชื้อ จำนวน 2 อัน
5. ทรายรองพื้นโอ่ง
ขั้นตอนการเพาะ
1. หาโอ่งที่ชำรุดหรือไม่ได้ใช้แล้ว
2. นำโอ่งมานอนลง แล้วเอาไม้ไผ่ทำเป็นแผงวางก้อนเชื้อเห็ด ต้องหาสถานที่เหมาะๆใต้ร่มไม้หรือที่มีร่มเงา ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้น
3. นำทรายหยาบวางรองพื้นตามแนวนอนของโอ่ง เพื่อเก็บความชื้น
4. นำก้อนเชื้อเห็ดที่ต้องการเพาะมาเรียงไว้จนเต็ม
5. ควรระมัดระวังในช่วงวันที่ 1-3 ถ้าร้อนเกินไป ให้เปิดกระสอบป่านหรือซาแรน เพื่อระบายความร้อน
6. รดน้ำบนก้อนเชื้อเช้า-กลางวัน-เย็น ถ้าพบว่ากองเห็ดแห้งเกินไปก็ควรเพิ่มความชื้น โดยใช้บัวรดน้ำเป็นฝอยเพียงเบาๆ ให้ชื้น หลังจากเพาะเห็ดประมาณ 1 สัปดาห์จะเริ่มมีตุ่มดอกเห็ดสีขาวเล็กๆ ในช่วงนี้ต้องงดการให้น้ำโดยตรงกับดอกเห็ด ถ้าดอกเห็ดถูกน้ำในช่วงนี้ดอกเห็ดจะฝ่อและเน่าเสียหาย
7. หลังจากนั้น ประมาณ 7-10 วัน เห็ดจะออกดอกเก็บรับประทานได้ สามารถเก็บ ดอกเห็ดมารับประทานได้แล้วทุกวัน จนกว่าดอกเห็ดจะหมดไป ใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือนสำหรับการเพาะเห็ดในโอ่ง เป็นการนำเอาของใช้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นแนวทางในการประหยัดต้นทุน และสามารถ นำไปเพาะได้ทุกครัวเรือน
การดูแลรักษา
ข้อ ระวัง น้ำที่ใช้รดเห็ดจะต้องเป็นน้ำจืด ไม่มีคลอรีนเจือปน ไม่เป็นน้ำกร่อย น้ำเค็ม ระวังน้ำเค็มไม่สามารถจะใช้รดเห็ดได้ เพราะเห็ดจะไม่ออกดอกเห็ด แต่ละชนิดต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสมในการผลิตดอกเห็ดไม่เหมือนกัน เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ และเห็ดหูหนู ต้องการอุณหภูมิธรรมดาในช่วงฤดูร้อนหรือฤดูฝน ส่วนเห็ดนางฟ้าและเห็ดหอม ต้องการอุณหภูมิค่อนข้างเย็น ดังนั้น ในการผลิตดอก เห็ดแต่ละฤดูก็ควรมีการจัดการชนิดของเห็ดที่จะผลิตควบคู่ไปด้วย สูตรและเทคนิคการใช้ จุลินทรีย์พลายแก้ว ป้องกันกำจัดราโรคเห็ด
จุลินทรีย์ พลายแก้ว” ถูกค้นพบโดย นายพลายแก้ว เพชรบ่อแก นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และท่านอาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ ได้นำมาพัฒนาและเผยแพร่ใช้ในการป้องกันกำจัดเชื้อราโรคพืชและเชื้อราโรคเห็ด ส่งผลให้การเพาะเห็ดง่ายขึ้นได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น จากเมื่อก่อนหากก้อนเห็ดหรือกองเห็ดมีราเขียว ราดำ ราเหลืองเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้เห็ดไม่เกิดดอก ก้อนเห็ดต้องแยกไปทำลาย เสียหายเป็นจำนวนมาก โรคและศัตรูการเพาะเห็ดถุง

อีกเทคนิคหนึ่งที่ท่านอาจารย์ดีพร้อมได้วิจัยและเผยแพร่คือใช้เชื้อพลายแก้ว ร่วมในการผลิตก้อนเชื้ออาหารเห็ดคุณภาพสูง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเรื่องการปนเปื้อนของเชื้อราตั้งแต่แรกเริ่มของกระบวนทำก้อนอาหารเห็ด ให้ก้อนเชื้อมีความสะอาดปราศจากเชื้อราโรคเห็ด คุณภาพของเส้นใยสมบูรณ์แข็งแรงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและกลุ่มผู้ซื้อ ที่นำไปเปิดดอกจำหน่ายอีกต่อหนึ่ง ตัวอย่างสูตรอาหารการหมักขยายเชื้อ จะเลือกใช้สูตรใดก็ได้ขึ้นอยู่กับอาหารเชื้อที่หาได้ในท้องถิ่น ซึ่งสูตรแต่ละสูตรให้ปริมาณเชื้อต่อหน่วยอาหารไม่แตกต่างกันมากนัก

1.การขยายเชื้อพลายแก้วด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน ใช้มะพร้าวอ่อน 1 ผล เจาะเปิดฝาแง้มพอใส่เชื้อลงไปได้ ใส่เชื้อพลายแก้ว 1-2 ช้อนชา ปิดฝาทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง (ดีที่สุด 36 ชม.) หมักครบเวลา นำมาผสมน้ำได้10-20 ลิตรแล้วจึงนำไปใช้ โดยฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณที่เป็นโรค หรือนำไปผสมในอาหารเห็ดตามสัดส่วนความชื้น

2.การขยายพลายแก้วโดย ใช้นมกล่องพาสเจอร์ไลท์ตามท้องตลาดทั่วไป 1 กล่อง (250 ซีซี.) เปิดฝาออกให้เทนมใส่ถุงพลาสติกสะอาด เติมเชื้อพลายแก้วตามลงไป 1-2 ช้อนชา นำไปผูกข้างหนึ่งอีกข้างเปิดปากถุงให้อากาศเข้าได้ แล้วนำไปแขวน หมักทิ้งไว้24-48 ชั่วโมง ครบเวลานำมาผสมน้ำ 10-20 ลิตรแล้วนำไปใช้ เทคนิคการใช้หากเชื้อราอยู่ก้นถุงอาจใช้ไซลิ้งเข็มฉีดยาดูดน้ำหมัก 5 ซีซี แล้วฉีดเข้าไปที่บริเวณเกิดโรค หากเป็นมากกรอกน้ำหมักเข้าไปให้ท่วมก้อน ทิ้งไว้1-2นาทีแล้วเทน้ำหมักออกให้สะเด็ด อย่าแช่นานเกินไปเพราะเส้นใยเห็ดจะขาดอากาศได้

3.บางฟาร์มใช้เชื้อหมักในปริมาณมาก อาจหมักรวมกันโดยเทน้ำมะพร้าวอ่อน หรือ นม ลงไปรวมกันแล้วใส่เชื้อตามอัตราส่วนของอาหาร โดยหมักในถังขนาดใหญ่ขึ้นหรือกะละมังที่สะอาด และต้องให้อากาศแบบตู้ปลานั่นคือมีสายออกซิเจนและหัวทรายกระจายอากาศให้ทั่ว เพราะเชื้อในตระกูลนี้เป็นเชื้อที่เจริญได้ดี ได้มาก ต้องใช้อากาศ หมักเป็นเวลา24-48 ชม. ครบเวลาค่อยผสมน้ำเปล่าแล้วนำไปใช้ การใช้ก็นำไปฉีดพ่นบริเวณที่เกิดโรคหรือนำไปรดหรือสเปรย์ผสมในอาหารก้อนขี้เลื่อยในเห็ดถุงโดยต้องคลุกเคล้าให้ทั่วให้เชื้อกระจายทั่วถึงในอาหาร และกะความชื้นให้พอเหมาะ หรือผสมรดสเปรย์ในฟางหมัก ,ทะลายปาล์มหมักสำหรับเพาะเห็ดฟาง

การหมักเชื้อจุลินทรีย์พลายแก้ว และไมโตฟากัส เพื่อใช้ในสูตรอาหารเพื่อผลิตก้อนเชื้อเห็ด
สูตรการหมักโดยทั่วไปคือ ใช้น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ลูก หรือนมสด 1 กล่อง หรือนมผงที่ชงในน้ำอุ่นสำหรับเลี้ยงทารก 1 แก้ว เทใส่ถุงพลาสติกใหม่สะอาด ใส่เชื้อที่จะหมักลงไป 1 ช้อนชา ผูกข้างหนึ่งอีกข้างหนึ่งเปิดให้อากาศเข้าได้ นำไปแขวนหรือตั้งทิ้งไว้ เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ครบเวลานำไปผสมในสูตรอาหาร
หมายเหตุ:การหมักเชื้อจุลินทรีย์แต่ละชนิด ต้องหมักแยกภาชนะ ไม่หมักรวมกันเพราะเชื้อจะแย่งอาหารกันเอง แต่เมื่อหมักครบเวลาสามารถนำมาใช้รวมกันได้ เชื้อที่หมักครบเวลาเป็นเชื้อสดต้องใช้ทันที ไม่ึควรเก็บเอาไว้เพราะเชื้อจะแก่เกินไป
การใช้พลายแก้วกำจัดโรคเห็ด
ไรขาวใหญ่
การกำจัดไรเห็ด
ปัญหาการเพาะเห็ดฟาง
ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส
การเพาะเห็ดในโอ่ง
จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย
ราสีส้ม
แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณสุพจน์ 082-711-9399 E- mail: Sup.hot@hotmail.com
ชื่อบัญชี สุพจน์ แวงภูลา
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชาบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 208-1-95042-1

ขอบคุณที่มาข้อมูล:คุณ อำพล สุขเกต แร่ธาตุเสริม, กระตุ้น สำหรับเห็ดทุกชนิด
ขนาดบรรจุ : 700 กรัม
คุณสมบัติ
1. เป็นแร่ธาตุเสริมผสมเสร็จ สำหรับฉีดพ่นให้กับก้อนเห็ด
2. เหมาะสำหรับก้อนเห็ด ที่ผู้ทำก้อนใส่อาหารไม่สมดุล
3. เหมาะสำหรับก้อนเห็ด ที่เกิดดอกจนแร่ธาตุในก้อนไม่พอ ที่จะให้เกิดดอกได้อีก แต่อาหารในก้อนยังเหลืออยู่
4. ใช้กระตุ้นการเกิดดอกเห็ดได้ ในกรณีอาหารไม่สมดุล

เทคนิคการใช้
1. ใช้อัตรา 5 ช้อนแกง (50 กรัม) ต่อน้ำ 5-10 ลิตร กวนให้ขุ่น กรอง นำไปฉีดพ่นเป็นฝอยหน้าก้อนเห็ด ฉีดพ่นแบบผ่านๆ
2. หากใช้ร่วมกับ บาซิลลัส พลายแก้ว ในช่วงกระตุ้นแบบสลับกับ เทคนิคการพักก้อน จะช่วยให้เห็ดออกเป็นรุ่นใหญ่และดอกสมบูรณ์
3. ใช้ได้จนกว่าเห็ดออกดอกไม่คุ้ม แล้วจึงนำก้อนเชื้อใหม่เข้าโรงเรือง
การใช้พลายแก้วกำจัดโรคเห็ด
ไรขาวใหญ่
การกำจัดไรเห็ด
ปัญหาการเพาะเห็ดฟาง
ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส
การเพาะเห็ดในโอ่ง
จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย
ราสีส้ม
แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด
การหมักเชื้อจุลินทรีย์พลายแก้ว และไมโตฟากัส เพื่อใช้ในสูตรอาหารเพื่อผลิตก้อนเชื้อเห็ด
สูตรการหมักโดยทั่วไปคือ ใช้น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ลูก หรือนมสด 1 กล่อง หรือนมผงที่ชงในน้ำอุ่นสำหรับเลี้ยงทารก 1 แก้ว เทใส่ถุงพลาสติกใหม่สะอาด ใส่เชื้อที่จะหมักลงไป 1 ช้อนชา ผูกข้างหนึ่งอีกข้างหนึ่งเปิดให้อากาศเข้าได้ นำไปแขวนหรือตั้งทิ้งไว้ เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ครบเวลานำไปผสมในสูตรอาหาร
หมายเหตุ:การหมักเชื้อจุลินทรีย์แต่ละชนิด ต้องหมักแยกภาชนะ ไม่หมักรวมกันเพราะเชื้อจะแย่งอาหารกันเอง แต่เมื่อหมักครบเวลาสามารถนำมาใช้รวมกันได้ เชื้อที่หมักครบเวลาเป็นเชื้อสดต้องใช้ทันที ไม่ึควรเก็บเอาไว้เพราะเชื้อจะแก่เกินไป และสามารถใช้ร่วมกับแร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ดไ้ด้ทันที
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณสุพจน์ 086-8611943 082-711-9399 E- mail: Sup.hot@hotmail.com
ชื่อบัญชี สุพจน์ แวงภูลา
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชา บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 208-1-95042-1